วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คาบ 14 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556

บันทึกการเรียนการสอน


กิจกรรม

-การจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักของเด็ก


กิจกรรมในแต่ละวันของเด็กอนุบาล

-เข้าแถว
-เคลื่อนไหว
-ดื่มนม
-ศิลปะ
-เสริมประสบการณ์
-เสรี
-กลางแจ้ง
-กินข้าว
-นอน
-เกมการศึกษา

คาบ 13 วันที่ 30 มกราคม 2556

บันทึกการเรียนการสอน

การระดมความคิดของปฐมวัย

- นิทานเวที
- นิทรรศการสื่อ
- เล่นดนตรี
- ร้องเพลง
- เล่านิทาน
- เล่นเกม
- รำ
- งานศิลปะ
- เต้น

1.การสอนเด็กต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก / เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก
2.ประสบการณ์  คือ ต้องลงมือกระทำ เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้
3. การนับหรือการเรียง  ต้องเรียงจากซ้ายไปขวา เพื่อที่จะให้เด็กมีประสบการณ์เป็นพื้นฐานในการจำ
4.การวางตัวเลขจะวางไว้หน้าคำหรือหลังคำก็ได้แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกัลคำนั้นๆ
5.ดูตามภาพ ค่ะ


คาบ 12 วันที่ 23 มกราคม 2556

บันทึกการเรียนการสอน


กิจกรรม

-อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเรื่อง 
การเรียนรู้-ประสบการณ์-เนื้อหา-สาระ-ความรู้


งาน
ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 4-5 คน แล้วช่วยกันคิดเกีี่ยวกับ การทำหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละวัน โดยรวมแล้วทั้งหมด 5 วันด้วยกัน


คาบ 11 วันที่ 16 มกราคม 2556

บันทึกการเรียนการสอน




วันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ  อาจารย์ให้เข้าไปร่วมกิจกรรมในห้องประชุมศูนย์ครู  ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์


คาบ 10 วันที่ 9 มกราคม 2556

บันทึกการเรียนการสอน


กิจกรรม

-อาจารย์แนะนำวิธีการใช้ภาพแทนจำนวน โดยบูรณาการกับการที่ใช้แผ่นป้ายรายงานตัว โดยการให้นักเรียนเมื่อมาเรียนแล้ว ให้นำชื่อของตัวเองมาใส่ไว้ในช่องของตน เพื่อให้นักเรียนรู้ว่า วันนี้มีนักเรียนมาเรียนทั้งหมดกี่คน และคนที่ไม่มามีกี่คนเป็นการสอดแทรกเนื้อหาคณิตศาสตร์ลงไปตั้งแต่เด็กๆ 
-ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ที่เริ่มตั้งแต่เด็กๆเดินเข้าโรงเรียนไป เช่น  ปฏิทินการมาโรงเรียน การใช้ภาพสัญลักษณ์แทนค่าน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กๆเป็นแผนภูมิแท่ง
-ความสัมพันธ์สองแกน คือ โดยการเพิ่งความต่อเนื่องของรูปภาพ จะต้องมีพื้นฐานการจับคู่ที่ดี
-ส่งงาน

คาบ 9 วันที่ 2 มกราคม 2556

                 


                     เนื่องจากนักศึกษามีจำนวนมาน้อย อาจารย์จึงให้นักศึกษาไปทำงานที่                         อาจารย์สั่งไว้มาส่งในคาบหน้า

คาบ 8 วันที่ 26 ธันวาคม 2555


                         *  ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค



คาบ 7 วันที่ 19 ธันวาคม 2555

บันทึกการเรียนการสอน


กิจกรรม
-อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ตัดกระดาษลังเป็นวงขนาดต่างๆ
- อาจารย์บอกว่าถ้าจะใช้อย่างอื่นนอกจากกระดาษลัง  แล้วสามารถใช้ประโยชน์แทนกันได้  ถือว่านักศึกษามาความคิดสร้างสรรร
- การใช้กระดาษสีมาติดบนกล่องกระดาษ  ทำให้รูปทรงมีมิติมากยิ่งขึ้น
มาตรฐาน  คือ  สิ่งที่บอกว่าสิ่งนั้นควรผ่านมาตรฐานในเกณฑ์มาตรฐานให้ได้
-คณิต และ ภาษา เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ในการเรียนรู้
-คำว่า"กรอบ"นักศึกษาคิดถึงอะไร?
      เช่น  ขอบเขต  ข้อจำกัด

***ภายใน 10 นาที  แสดงว่าเป็นการสอนให้เด็กรู้จักวิธีการคิดให้คล่องแคล่วและว่องไว

-การวัด แบบไม่เป็นมมาตรฐาน
เช่น  พระอาทิตย์  ไก่ขัน ดูดอกบัว  เป็นการสังเกตธรรมชาติ
-แบบกึ่งมาตรฐาน
เช่น  กะลา  นาฬิกาทราย
-แบบเป็นมาตรฐาน
เช่น  นาฬิกา

คาบ 6 วันที่ 12 ธันวาคม 2555

บันทึกกการเรียนการสอน


 - อาจารย์ให้ส่งงาน  แล้วถามแต่ละคู่ว่างานที่ทำได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรม

 - อาจารย์ให้เดินออกไปหยิบกล่องคนละ 1 ใบ 


จากนั้นจับกลุ่ม  10 คน  แล้วให้นักศึกษาต่อรวมกันเป็นอะไรก็ได้

 - กลุ่มของฉันทำเป็นหุ่นยนต์

คาบ 5 วันที่ 5 ธันวาคม 2555

บันทึกการเรียนการสอน


                ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันพ่อแห่งชาติ






  วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
      วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”

คาบ 4 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555

    





                    ไม่ได้มาเรียน   เนื่องจาก  ไม่สบาย

คาบ 3 วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน

  
                                   วันนี้อาจารย์ให้เข้ากลุ่มทำงานวิเคราะห์ข้อมูล


กิจกรรม
-อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3-4 คน เพื่อทำงานกลุ่มในหัวข้อ ความหมายของคณิตศาสตร์ หลักการ  ขอบข่าย และนักทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ แล้วให้แต่ละคนสรุปความหมายของเพื่อนในกลุ่มเดียวกัน พร้อมเขียนที่มาของความหมายนี้ด้วย

-สรุปความหมายของวิชาคณิตศาสตร์

 ราชบัณฑิตยสถาน  (2530 : 99)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  “คณิตศาสตร์เป็นวิชาว่าด้วยการคำนวณ”  ซึ่ง

มีความหมายที่ทำให้เรามองเห็นคณิตศาสตร์อย่างแคบ  มิได้รวมถึงขอบข่ายของคณิตศาสตร์  ซึ่งเรา

ยอมรับกันในปัจจุบัน
                        สมทรง  สุวพานิช  (2541 : 4-5)  ได้ให้ความหมายของคณิตศาสตร์ดังนี้
  1.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิดที่ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า  สิ่งที่เราคิดคำนึงเป็นจริงหรือไม่  สามารถนำไปแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
                      
  2.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นลักษณะภาษาสื่อความหมายได้ชัดเจน  เช่น  5 + 3  =  8 คณิตศาสตร์เป็นภาษาซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อสารซึ่งกันและกัน  ถ้าไม่มีคณิตศาสตร์จะไม่มีเครื่องจักรเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้าแน่นอน

 3.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์  โดยสร้างแบบจำลองและศึกษาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ  เช่น  เรขาคณิตแบบยูคลิค  ปรากฎการณ์ทางพันธุกรรม  สามารถอธิบายได้ในเชิงคณิตศาสตร์  โดยใช้เมตริกซ์  การเพิ่มของประชากรสามารถอธิบายในเชิงคณิตศาสตร์โดยใช้เลขยกกำลัง  เป็นต้น  ความมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ของคณิตศาสตร์นั้นเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปดังเช่น  “คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์”
 
 4.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นวิชาตรรกวิทยา  เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผลและศึกษาระบบ  ซึ่งสร้างโดย
อาศัยข้อตกลงใช้เหตุผลตามลำดับขั้น  คือทุกขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผลต่อกันมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก  เราจะเห็นว่าคณิตศาสตร์นั้นเริ่มต้นด้วยเรื่องง่าย ๆ  และอธิบายข้อคิดต่าง ๆ  ที่สำคัญ  ซึ่งเริ่มต้นด้วยอธิบายจุด  เส้นตรง  ระนาบ  เรื่องอันเป็นพื้นฐานเหล่านี้นำไปสู่เรื่องต่อไป  การศึกษาเกี่ยวกับการใช้เหตุผลนั้นมีประโยชน์มหาศาล
 
 5.     คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  เช่นเดียวกับศิลปะอย่างอื่น  ความหมายของคณิตศาสตร์คือ  ความมีระเบียบและความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุดของชีวิตความสัมพันธ์และแสดงโครงสร้างใหม่ ๆ  ทางคณิตศาสตร์ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
                    
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช  (2537  :  5)  กล่าวว่าคณิตศาสตร์  เป็นคำแปลมาจาก  Mathematics   หมายถึง   “สิ่งที่เรียนรู้หรือความรู้”  เมื่อพูดถึงคำว่าคณิตศาสตร์คนทั่วไปมักเข้าใจ  ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลข  เป็นศาสตร์ของการคำนวณและการวัด  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลเพื่อความหมายและเข้าใจได้
                      
  จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ  เป็นวิชาที่เน้นในด้านความคิด  ความเข้าใจ  ในเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขและเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผลใช้ในการสื่อความหมาย  เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

คาบ 2 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555

บันทึกการเรียนการสอน


                                                   วันที่ 14 พฤศจิกายน  2555
 กิจกรรม

อาจารย์ให้วาดรูปสัญลักษณ์ของตัวเองลงในกระดาษพร้อมชื่อ  แล้วให้ไปแปะบนกระดานซึ่งอาจารย์  

กำหนดเกณฑ์ ขึ้นมาว่าใครมาก่อน 08.30 น. ให้เอาไปแปะไว้หน้าเส้น

- เมื่อวาดรูปเสร็จ ให้นักศึกษานำรูปไปติดที่หน้ากระดาน
 จากการที่นำแผ่นกระดาษไปแปะบนกระดานสามารถรู้ถึงเรื่อง  จำนวน / แยกประเภท / แยกหมวดหมู่ / 

จำนวนแถว  /ขนาด / รูปร่าง 

                                                      ตั้งคำถามจากสิ่งที่เห็น คือ 

 1.จำนวนเท่าไหร่

 2.นับ 
 3.คำตอบ คือ คนที่มาก่อน 08.30 น. มี 19 คน 
   
ใช้เลขฮินดูอาราบิกมาแทนค่าจำนวนคือ  19 

   เลขฮินดูอาราบิกใช้ไว้  แทนค่า  จำนวน
   
   ฐานของเลข คือ หลักสิบ

  - เวลานับเลขต้องอ่านจากซ้ายไปขวา



งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก อย่างน้อย 5 เล่ม
-.หัวข้อคือ 
1.1 เรื่อง ความหมายของคณิตศาสตร์
1.2ทฤษฎีการจัดการสอนคณิตศาสตร์
1.3ขอบข่ายหรือเนื้อหาของคณิตศาสตร์
1.4หลักการสอนคณิตศาสตร์

คาบ 1 วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน


ครั้งที่ 1 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555

เป็นคาบแรกของการเรียนสอน จึงเป็นการปฐมนิเทศน์ก่อนการเรียน อาจารย์ทำข้อตกลงและกฎกติการ่วมกับนักศึกษา คือ เวลาเรียนคือ 09:00 น. ถ้าเกิกว่า 09:15 น. ถือว่าสาย การเรียนในเทอมนี้จะเน้นการวิจัยเป็นหลัก
กรส่งงานในแต่ละครั้ง ควรจัดหมวดหมู่ให้ถูกต้องและเป็นระบบ ไม่ใช่คิดว่าจะส่งอย่างเดียว จนทำให้งานที่ออกมาไม่เรียบร้อย
อาจารย์จะปล่อยนักศึกษาก่อนเวลา 40 นาที เพื่อแก้ปัญหาที่นักศึกษาบอกว่าไมมีงานส่งจากบล็อกเกอร์ เพราะบ้านไม่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ดังนั้นอาจารย์จึงให้นักศึกษานำงานไปลงบล็อกของตัวเองได้ที่ห้องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยได้
วันนี้อาจารย์พูดถึงการประเมิน วิธีการเรียน
การมาเรียนในแต่ละครั้งทุกคนจะต้องมีสมุด เพื่อทำการจดบันทึกขณะที่เรียน

กิจกรรม

1.ในความคิดของนักศึกษาคิดว่า คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร เขียนมาแค่ 1 ประโยค

คำตอบของดิฉันคือ : คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การที่ฝึกให้เด็กปฐมวัยรู้จักพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เช่น การนับเลข การบวก การลบเลข เื่พื่อเป็นการปูพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์ในการเรียนที่มีระดับสูงขึ้นในอนาคต

2.คำว่า "สอน" กับ " จัดประสบการณ์ " มีความแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบของดิฉันคือ "การสอน...คือกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์มากกว่าสู่ผู้ประสบการณ์น้อยกว่า...การสอนที่ดี...หมายถึงการให้ความรู้ที่ทำให้เขาดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข...เข้าใจศักยภาพของตนเอง นอกจากนี้การสอนเป็นกระบวนที่ทำให้ผู้ที่ทำการสอนได้พัฒนาตนเองด้วย" ส่วนคำว่า การจัดประสบการณ์ หมายถึง การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย โดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ 

3.นักศึกาาคาดหวังอะไรจากวิชานี้บ้าง

คำตอบของดิฉันคือ : การที่ได้เรียนวิชานี้ ดิฉันได้คาดหวังว่า จะทำให้ฉันรู้จักเทคนิคและวิธีการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กทีถูกต้องและเหมาะสม 

อาจารย์เสริมว่า การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในแต่ละวัน จะต้องจัดกิจกรรมให้ครบ 6 กิจกรรมหลัก


กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

  1. เสรี (มุมบทบาทสมมติ)
  2. เคลื่อนไหวและจังหวะ
  3. ศิลปะสร้างสรรค์
  4. เกมการศึกษา
  5. เสริมสร้างประสบการณ์ (วงกลม)
  6. กลางแจ้ง (เครื่องเล่นสนาม)